สไลด์การศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 24-28 มกราคม 2554

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันเสาร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

  กิจกรรมที่ 6 สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จาการเรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก
                      ข้าพเจ้าคิดว่าการสร้างและการใช้งานบล็อก  มีประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารในปัจจุบัน  เพราะสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว  และประหยัดในหลาย ๆ  เรื่อง  เช่น  เวลา  กระดาษ  เป็นต้น   เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้  บันทึกความรู้ไว้ในไฟล์เอกสารของตัวเอง  บล็อกเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ครูลงรายละเอียดไว้ในบล็อก แล้วมอบหมายให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาด้วยตนเองในบล็อก  ซึ่งผู้เรียนเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว บล็อกจะเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนเสามารถถ่ายทอดความคิดเห็นหรือความรู้สึกลงไปในบล็อกได้อีกด้วย นอกจากนี้การสร้างบล็อกจะได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น ข้อดี ของการสร้างบล็อก 1. สร้างง่าย ไม่ยุ่ งยาก  ซับซ้อนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ยาก 2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้ 3.เป็นเครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวของหน่วยงานได้ในทุก ๆ  เรื่อง   4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย  ทำให้ทันต่อ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน 5. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอข้อมูล ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม 6. สามารถสร้างเครือข่าย ระหว่างผู้ที่มีความสนใจร่วมกันได้ 7. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน ที่เก็บข้อมูลของผู้ที่เป็นเจ้าของบล็อก ข้อเสียของการสร้างบล็อก 1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ บางครั้งอาจนำเสนอเรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ 2. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม 
                จากเรียนรู้เรื่องการสร้างบล็อก  ข้พเจ้าคิดว่าจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนสนใจการเรียน   ส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 5 ผลจากการไปทัศนศึกษาต่างประเทศ

การไปศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ดำเนินการดังนี้ 1. ขั้นตอนการไปศึกษาดูงาน มีดังนี้ 1.1 ประชุมนักศึกษาทุกคนเพื่อร่วมกันเสนอสถานที่ที่ไปศึกษาดูงาน 1.2 เมื่อเลือสถานที่ศึกษาดูงานได้แล้ว เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเสนอโครงการต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 1.3 ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการติดต่อสถานที่ที่จะไปศึกษาดูงาน 1.4 เลือกบริษัททัวร์ที่มีประสบการณ์การนำเที่ยว โดยพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องสภาพรถ ราคา วัน เวลา สถานที่ที่จะนำคณะนักศึกษาไปศึกษาดูงาน 1.5 แจ้งค่าใช้จ่ายให้นักศึกษาทราบ นัดหมายวัน เวลาที่เก็บเงิน 1.6 แจ้งให้นักศึกษาทุกคนที่จะไปศึกษาดูงานทำ Passport ให้เรียบร้อย รวมทั้งขออนุญาตหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อไปศึกษาดูงานต่างประเทศ 1.7 นัดหมายวันเวลา และสถานที่ขึ้นรถและแจ้งกำหนดการให้ผู้ร่วมเดินทางทราบก่อนเดินทาง 1.8 เดินทางไปศึกษาดูงาน 1.9 สรุปรายงานผลการไปศึกษาดูงาน 2. บรรยากาศ สิ่งที่พบเห็นนำมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการบริหาร - เริ่มจากเช้ามืดวันจันทร์ ที่ 24 มกราคม 2554 รถออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา รับประทานอาหารสายบนรถ ถึงด่านมาเลเซียชายแดนไทยที่จังโหลน ให้เจ้าหน้าที่ประทับตราบนหนังสือเดินทาง แล้วเดินทางไปยังสถานที่ศึกษาดูงานแห่งแรก ได้แก่ โรงเรียน "Sekolah Kebangsaan Kodiag school" รับประทานอาหารเที่ยง ที่โรงเรียน Sekolah Kebangsaan Kodiag school ออกจาก โรงเรียน Sekolah Kebangsaan Kodiag school มุ่งหน้าสู่ เกาะปินัง แลกเงิน ณ จุดแปลกเปลี่ยนเงิน รับประทานอาหารเย็น เข้าพักโรงแรม Grand Continental - วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554 รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Grand Continental สถานที่แวะชมแห่งแรกของวันนี้คือ ป้อมปืน ซึ่งอยู่ที่สะพานข้ามเกาะปีนัง รับประทานอาหารเที่ยง ที่ร้าน Garden Seafood ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ชมตึกแฝด แวะชอปปิ้งที่ร้านช็อคโกแลต หลังจากนั้นออกเดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานคร บนภูเขาสูง นั่งกระเช้าไฟฟ้า ขึ้นสู่ยอดเขาเก็นติ้ง เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World รับประทานอาหารค่ำ ชมบ่อนคาสิโน บรรยากาศและแหล่งบันเทิงยามค่ำภายในเก็นติ้ง พักผ่อนตามอัธยาศัย - วันพุธ ที่ 26 มกราคม 2554 รับประทานอาหารเช้า ณ ภัตตาคารของโรงแรม First World ขาลงจากเก็นติ้งเดินทางด้วยด้วยรถบัสของเก็นติ้งเนื่องจากมีหมอกหนามาก แวะซื้อของฝากร้านดิวตี้ฟรี รับประทานอาหารเที่ยงที่Malaysia Kitchen ระหว่างทางแวะชมตึกรัฐสภา มัสยิดสีชมพู รับประทานอาหารค่ำ จากนั้นเดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองยะโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์ ถึงด่านสิงคโปร์ ประทับตราหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์ เข้าสู่ที่พัก AQUEEN HOTEL - วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554 รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม หลังจากทานเช้าอาหารแล้วแวะเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์ บริเวณเมอร์ไลออน ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถนออร์ชาร์ด รับประทานอาหารเที่ยง เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ (4D) นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศ รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์ ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย เข้าพักที่โรงแรม Selasa - วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554 รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Selasa ออกจากโรงแรมเนทางสู่ชายแดนไทยมาเลเซีย รับประทานอาหารเที่ยง แวะซื้อของฝากที่ร้านดิวตี้ฟรีชายแดนไทย-มาเลเซีย หลังจากนั้นเดินทางสู่ประเทศไทย รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ด้วยความประทับใจ จากการศึกษาดูงานสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการเรียนการสอน เกี่ยวกับการบริหารจัดการในโรงเรียนได้ โดยเฉพาะการจัดกลุ่มนักเรียนจะแบ่งตามความสมารถ และจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน ทำให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเองในด้านกีฬา ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และอีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้คือ การรักษาความสะอาดของโรงเรียน ทำให้มีบรรยากาศน่าเรียน

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 ระบบการบริหารจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศ


ระบบการบริหารจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศ

และเทคโนโลยีของวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง

ข้อมูลพื้นฐาน     วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง 

          ตั้งอยู่เลขที่  119  หมู่ที่ 7  ต.หนองหงส์  อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

          สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

          จัดการเรียนการสอน  ระดับ  ปวช.  และ  ปวส

ทั้งประเภทวิชาพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม 

            ข้อมูลบุคลากร 
                   ครู  และบคลากรทางการศึกษา  จำนวน  160 คน
                   นักเรียน  นักศึกษา  จำนวน  3,059 คน
จุดเด่น วิทยาลัยฯมีนักเรียน นักศึกษาเป็นจำนวนมาก จากอำเภอใกล้เคียง
จุดด้อย เป็นสถานศึกษาใหม่ การบริหารจัดการยังไม่นิ่ง อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม

ระบบการบริหารจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศ


          วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง  มีระบบการบริหารจัดการโดยแบ่งเป็นโครงการสร้างบริหารงาน  ดังรูป  ในส่วนที่เป็นระบบการบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศของวิทยาลัยก็จะเป็นหน้าที่ของงานศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ  ซึ่งจะมีเว็บไซต์ของวิทยาลัยเพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมต่างๆ  ที่เป็นปัจจุบัน  ด้านระบบข้อมูลบุคลากร  ทางวิทยาลัยกำลังดำเนินการให้มีการใช้งานโปรแกรม  RMS  2007  ระบบบริหารจัดการบุคลากรซึ่งเป็นระบบที่สมบูรณ์ในด้านการเก็บข้อมูลสารสนเทศเป็นรายบุคคล  โครงสร้างการบริหารแบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย        คือ   1.ฝ่ายบริหารทรัพยากร  2ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ  3ฝ่ายพัฒนานักเรียนนักศึกษา  4ฝ่ายวิชาการ

                                                                  
        
ระบบการบริหารงานบุคลากร
     ด้านระบบข้อมูลบุคลากร  ทางวิทยาลัยกำลังดำเนินการให้มีการใช้งานโปรแกรม  RMS  2007  ระบบบริหารจัดการบุคลากรซึ่งเป็นระบบที่สมบูรณ์ในด้าน การเก็บข้อมูลสารสนเทศบุคลากรเป็นรายบุคคล  ซึ่งประกอบด้วย  ข้อมูลประวัติส่วนตัว  ประวัติการลา  ประวัติการอบรม  ประวัติการรับเครื่องราชฯ  ข้อมูลผลงาน  ข้อมูลงานครูที่ปรึกษา  ข้อมูลรายวิชาที่สอน  ฯลฯ
ระบบข้อมูลนักเรียน  นักศึกษา
     ระบบงานทะเบียนของวิทยาลัยฯ  อยู่ในฝ่ายบริหารทรัพยากร  ซึ่งทางวิทยาลัยฯ  ได้ใช้โปรแกรม  STD 2007  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานทะเบียนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ซึ่งในโปรแกรมก็จัดเก็บข้อมูลนักเรียน  นักศึกษา  ประวัติอย่างละเอียด  และมีข้อมูลการเรียนหลักสูตร  รายวิชา  และผลการเรียน  ฯลฯ
ระบบข้อมูลงานวิชาการ
     งานวิชากร  ของวิทยาลัยฯ มีงานที่เกี่ยวข้อง  คือ
                1.  งานหลักสูตร 
                2.  งานวัด และประเมินผล 
                3.  งานวิทยบริการ
                4.  งานทวิภาคี  (การจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ) 

กิจกรรมที่ 3 สรุปความรู้เรื่องการใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล SPSS

 

          เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม 2553 อาจารย์ได้สอนและฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistic Package for Social Sciences for Windows)ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยและเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ การทำงานตามต้องการ ซึ่งสามารถสรุปความรู้ที่ได้เรียนและฝึกปฏิบัติมา ได้ดังนี้
1. การเรียกใช้งานโปรแกรม SPSS
    - ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือคลิกที่ปุ่ม Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม SPSS
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล
    - การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถามได้ลงในโปรแกรม SPSS ซึ่งในส่วนนี้จะประกอบด้วย
          * Data View
          * Variable View
     การสร้างแฟ้มข้อมูล Data Editor Variable View จะปรากฏดังนี้
          1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
               1. Name ตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
               2. Type กำหนดชนิดของตัวแปร
               3.Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
               4.Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม
               5.Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
               6.Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
               7.Label ส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
               8.Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
               9.Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
              10.Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
              11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ

3. การพิมพ์ค่าข้อมูล  Data View
     เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ตอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกฉบับ  และบันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วยคำสั่ง File Save
4.  การวิเคราะห์ข้อมูล
     เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน มีวิธีการ  ดังนี้
     -  คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือกคลิก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น
     -  การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
             - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS
5.  การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
     เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว มีขั้นตอน  ดังนี้
          1. เลือกคลิกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
         2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบล์อคของ Variable(s)
         3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output

          ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Valid คือ ข้อมูลที่นำมาแจกแจงความถี่    
          Missing คือ ข้อมูลที่ขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์
         Total คือ ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาแจกแจงความถี่
          Frequency คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้
          Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้ ในรูปร้อยละ
          Valid Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนที่นับได้ในรูปร้อยละ โดยไม่นำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
          Cumulative Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนสะสมในรูปร้อยละ โดยนำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
6.  ความหมายของผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
          - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
          - การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
          - ค่าเฉลี่ย (Mean)
          - ฐานนิยม (Mode)
          - มัธยฐาน (Median)
          - การวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล
          - พิสัย (Range)
          - ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
          - ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Average Deviation)
          - ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
          - สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation)

สรุปความรู้ที่ได้รับจากฝึกปฏิบัติ การใช้งานโปรแกรมspss
     1.กำหนดค่าใน variable view
         - name   พิมพ์  ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
         - width   ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
         - deimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
         - value-ใส่ค่า 1น้อยที่สุด 2น้อย 3ปานกลาง 4มาก 5มากที่สุด
     2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(ตัวอย่าง20 ชุด)
     3.การวิเคราะห์ข้อมูล
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
         - คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3  แล้วคลิก ok แสดงประมวลผลการใช้ใช้โปรแกรม SPSS

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง

ชื่อ  นายสุรพล  บ้างวิจิตร
หัวหน้าแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง
075302027

การศึกษา  :  ครุศาสตร์  พลศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรัชญาการดำเนินชีวิต  : อยู่อย่างพอเพีอง
ปัจจุบัน  ป.บัณฑิต  การบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รหัสประจำตัว  5346701019